top of page

อุณหภูมิ ในการเก็บรักษาอาหาร ให้สดใหม่เสมอ

  • Writer: sge thai
    sge thai
  • Aug 19, 2021
  • 1 min read



อุณภูมิในการเก็บรักษาอาหาร: นั้นหมายถึงการเก็บรักษาอาหารสดและอาหารแห้ง โดยการถนอมอาหาร การเก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำ อุณหภูมิที่เย็น และจนถึงจุดเยือกแข็ง ให้มีอายุได้นานขึ้น คงสภาพเดิมโดยที่ไม่เน่าหรือเสีย และปลอดภัยจากสิ่งมีชีวิตจำพวกแมลงแบคทีเรียต่างๆ


สาเหตุของการทำให้อาหารนั้นเน่าเสีย


-เกิดจากเอนไซม์ที่อยู่ในอาหาร (Enzyme)ในอาหารนั้นคือ กลุ่มของโปรตีนที่มีหน้าตาพิเศษแตกต่างจากโปรตีนทั่วไป มีความสามารถในการเร่งปฎิกิริยาทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้ เพื่อใช้ในการสังเคราะห์องค์ประกอบภายในเซลล์ ระบบการย่อยอาหาร ข้อดีของมัน: จะทำให้เนื้อสัตว์นุ่ม ข้อเสียของมัน: ทำให้เกิดกลิ่นหืนเหม็น และทำให้สีเปลื่ยนไปจากเดิม (เน่าเสีย) -จุลินทรีย์ เชื้อรา ยีสต์ แบคทีเรีย -การป้องกันและยับยั้งไม่ให้อาหารเกิดการเน่าเสียได้ง่ายทำได้โดย การใช้ความเย็น ลดอุณหภูมิลง ง่ายๆก็คือเก็บรักษาในที่มีอุณหภูมิที่ต่ำ


การถนอนมอาหารโดยใช้ความเย็น

การใช้ความเย็น เพื่อเก็บรักษาอาหาร และถนอมอาหารเพื่อยืดอายุให้นานขึ้นและไม่ให้เกิดการเน่าเสียได้ง่าย

การเก็บรักษาในอุณหภูมิที่ต่ำ: คือการเก็บอาหารไว้ในที่มีความเย็นกว่าสภาพอุณหภูมิปกติทั่วไป สามารถทำให้อาหารสดอยู่ได้นาน เช่น การนำอาหารไปแช่ใน ตู้แช่ ตู้เย็น ถังแช่เย็น และห้องเย็น





การแช่เย็น(Chilling): อุณหภูมิ 0℃ ถึง 8℃ เป็นวิธีการทำให้อุณหภูมิของอาหารลดลงแต่อยู่เหนือจุดเยือกแข็งสามารถเก็บอาหารได้นานกว่าอุณหภูมิห้องปกติ เพราะอุณหภูมิต่ำทำให้จุลินทรีย์เจริญได้ช้าลงและไม่สามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนและทำให้อาหารเน่าเสียได้ จึงช่วยยืดอายุการเก็บรักษาอาหารได้เพียงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น




การแช่เยือกแข็ง(Frozen): อุณหภูมิต่ำกว่า -15℃ การถนอมอาหารแบบต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ช่วยให้ยืดอายุการใช้งานได้นานขึ้น และนานกว่าการแช่เย็น เป็นการช่วยรักษาอาหารให้มีสภาพใกล้เคียงกับอาหารสดได้ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ลดจำนวนจุลินทรีย์ลงแต่ไม่ได้ฆ่า


อุณหภูมิภายในตู้เย็น




-ช่องแช่แข็ง อุณหภูมิที่ต่ำกว่า -18℃ ช่องนี้เหมาะสมกับ การแช่เนื้อสัตว์ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความเย็นจัด เช่น น้ำแข็ง ไอศกรีม เนื้อสัตว์ ต่างๆ -ช่องเย็นที่สุด 0℃ ถึง 5℃ อาหารประเภทต้องการความเย็นแต่ไม่ต้องการแช่ให้แข็ง เช่น อาหารที่ปรุงสำเร็จ อาหารหมัก เป็นต้น -ช่องเย็นธรรมดา 5℃ ถึง 7℃ ไม่เย็นมาก นม น้ำผลไม้ ไข่ น้ำดื่ม โยเกิร์ตเป็นต้น -ช่องเก็บผักและผลไม้ 8℃ ถึง 10℃ เหมาะสำหรับผักและผลไม้


“อุณหภูมิของตู้เย็นนั้นอาจเปลื่ยนแปลงได้ตลอด ขึ้นอยู่กับปริมาณการเก็บอาหาร การยืดอายุอาหารเพื่อรักษาคุณภาพ ก็ต้องพิจารณาถึงอุณหภูมิ และความชื้นด้วย ควรมั่นควรเช็คอุณหภูมิเป็นประจำเพื่อไม่ให้อาหารสูญเสียคุณภาพได้”



อุณหภูมิในการเก็บรักษาอาหารในแต่ละประเภท เนื้อสัตว์สด: ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ และเนื้อสัตว์อื่นๆที่นิยมรับประทาน เก็บในห้องเย็นหรือตู้เย็น ควรมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่า < 4℃ ถ้าต้องการจะเก็บเป็นเวลานานๆ ควรมีอุณหภูมิอยู่ที่ ต่ำกว่า -18℃ อาหารทะเล: ได้แก่ ปลา กุ้ง หอย ปู ปลาหมึก และรวมไปถึงสัตว์น้ำต่างๆ ควรเก็บในภาชนะที่ป้องกันการรั่วซึมได้ อยู่ในช่วงอุณหภูมิที่ต่ำกว่า < 0℃ และ – 18℃ ตามลำดับ ผักสดและผลไม้: ได้แก่ พืชผักสวนครัวทุกชนิด ผลไม้เมืองร้อน และเมืองหนาว ใช้กล่องสำหรับเก็บผักและภาชนะในการบรรจุที่สะอาด เก็บได้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิประมาณ 4℃ – 10℃ ไม่ควรแช่ผักและผลไม้ต่ำกว่านี้เพราะจะทำให้วินตามินและแร่ธาตุถูกทำลายได้ หรือผลไม้บ้างชนิดก็ไม่เหมาะสมกับการแช่เย็น บางทีความเย็นจะทำให้เนื้อผลไม้นั้นช้ำและเสียรสชาติได้ ไข่ไก่ ไข่เป็ดและนมและผลิตภัณฑ์จากนม: อยู่ในช่วงอุณหภูมิที่ 4℃ – 5℃ ภายใน 1 สัปดาห์ เครื่องดื่ม: อยู่ในช่วงอุณหภูมิที่ 10℃ – 15℃ บริเวณประตูของตู้เย็น ประโยชน์ของการเก็บรักษาอาหาร -มีอาหารรับประทานทุกฤดูกาล -ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย -รักษาอาหาร ให้ไม่เกิดการเน่าเสียได้ง่าย -ลดการขาดแคลนอาหารในยามฉุกเฉิน สำหรับท่านที่ต้องการรักษา วัตถุดิบ เองทั้งที่ บ้าน หรือ ร้านอาหารของท่าน Sge เราขอเสนอ เครื่องฟรีสดราย ตัวช่วยในการเก็บรักษาวัตถุของท่านให้มีความสดใหม่ เครื่อง ฟรีสดราย FD ที่สุดของนวัตกรรมถนอมอาหาร เก็บรักษาได้ยาวนานเป็นปี เป็นการทำแห้งขณะที่อาหารมีอุณภูมิต่ำ - 50 องศาจึงลดการสูญเสียของอาหารเนื่องจากความร้อน ลดการทำลายเนื้อเยื่อและโครงสร้างอาหาร ทำให้ได้อาหารแห้งที่มีคุณภาพสูงและคุณค่าทางอาหารครบถ้วน สนใจ คลิกทีนี่ https://www.sgethai.com/product/freeze-dry/ เครื่องฟรีซดราย ที่มา Legatool

 
 
 

コメント


  • Facebook
  • Twitter
  • Spotify
  • Apple Music

© 2023 by The Halftimers. Proudly created with Wix.com

The Halftimers Newsletter

Thanks for submitting!

bottom of page