เฉาก๊วยคืออะไร ทำไมถึงมีประโยชน์มากมาย
- sge thai
- Jun 6, 2022
- 1 min read

เคยสงสัยไหมว่า เฉาก๊วย (Grass Jelly) เมนูขนมหวานที่ทานกันอยู่มีต้นกำเนิดจากที่ไหน ? เฉาก๊วยทำมาจากอะไร ? มีกรรมวิธีอย่างไรถึงทำให้เฉาก๊วยมีเนื้อนุ่มเหนียวและเป็นสีดำได้ ? อยากรู้ตามมาดูกัน
อากาศตอนเที่ยงแบบนี้ถ้าได้ทานขนมหวานเย็นก็คงจะดีไม่น้อย และเมนูอันดับต้น ๆ ที่นึกถึงคงหนีไม่พ้นเฉาก๊วย มีทั้งแบบถุงสำเร็จรูปเอามาฉีกใส่น้ำแข็ง ตามด้วยน้ำตาลทรายแดง หรือจะเอามาใส่นมสดก็อร่อยไปอีกแบบ หรือซื้อแบบตักสดที่สามารถเลือกใส่ท็อปปิ้งอย่างลูกชิด ทับทิมกรอบ แปะก๊วย วุ้นมะพร้าว หรืออื่น ๆ ตามชอบ ไม่ว่าจะทานแบบไหนก็อร่อยทั้งนั้นแหละเนอะ วันนี้กระปุกดอทคอมจะพาเพื่อน ๆ ไปรู้จักกับประวัติเฉาก๊วยให้มากขึ้นกว่าเดิม สืบให้รู้ถึงแหล่งกำเนิดและวิธีทำก่อนจะเป็นเฉาก๊วยเนื้อเหนียวสีดำแสนอร่อยที่เราหม่ำเข้าปากกัน
"เฉาก๊วย" ในศาสตร์ของจีนแล้ว เมื่อนำพืชชนิดนี้มาเคี่ยวและต้มดื่มน้ำ จะช่วยแก้ร้อนใน กระหายน้ำ มีฤทธิ์เย็นช่วยทำให้ภายในร่างกายเย็นไปด้วย นอกจากนี้ ยังมีสรรพคุณเป็นยาช่วยขับเสมหะ ช่วยลดบรรเทาอาการไข้ ด้วยการนำเฉาก๊วยมาต้มให้เดือดแล้ว นำน้ำเฉาก๊วยมาดื่มเป็นประจำ จะมีส่วนช่วยบรรเทาอาการความดันโลหิตสูง และสามารถควบคุมระดับน้ำตาล ซึ่งดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน
การเตรียมต้นเฉาก๊วย สำหรับการทำเฉาก๊วย

ต้นเฉาก๊วยหลังจากเก็บจากแปลงจะต้องนำมาล้างทำความสะอาดเสียก่อน แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง ก่อนที่จะมัดรวมกันเป็นก้อนเพื่อให้ง่ายต่อการเก็บ และการขนส่ง ต้นเฉาก๊วยที่จะนำมาต้มน้ำ โดยทั่วไปสามารถหักเป็นชิ้นใส่ในหม้อต้มได้เลย แต่หากต้องการให้ได้น้ำเฉาก๊วยที่เข้มข้นกว่าแนะนำให้สับเป็นชิ้นเล็กๆก่อนะคะ เพื่อเตรียมสำหรับการทำเฉาก๊วย เหนียวหนึบ สีดำ ไปดูขั้นตอนการทำกันเลยจร้า
– หลังจากเตรียมต้นเฉาก๊วยเสร็จ ให้นำต้นเฉาก๊วยแห้งมาล้างทำความสะอาด
– นำต้นเฉาก๊วยลงต้มในน้ำ อัตราส่วนเฉาก๊วยกับน้ำที่ 1:25-50
– ต้มเคี่ยวน้ำเฉาก๊วยนาน 3-5 ชั่วโมง จนน้ำเฉาก๊วยมีลักษณะข้นเป็นเมือก และมีสีดำใส
– ทำตักต้นเฉาก๊วยขึ้นมา แล้วใช้มือขยำหรือนวดต้นเฉาก๊วย เพื่อให้เมือกหลุดออกลงหม้อต้ม
– แยกกากต้นเฉาก๊วยออกจากน้ำต้ม และตั้งทิ้งไว้สักพักเพื่อให้ตะกอน และดินตกลงด้านล่างหม้อ
– ทำการกรองน้ำต้มเฉาก๊วยด้วยผ้าขาวบาง 1-2 ครั้ง โดยค่อยๆเทเบาๆ เพื่อไม่ให้ตะกอนด้านล่างฟุ้งขึ้นมา
– นำน้ำต้มเฉาก๊วยที่มีลักษณะเหนียวข้นตั้งทิ้งไว้ให้เย็นจนได้เฉาก๊วยที่มีลักษณะก้อนอ่อนนุ่ม
– หากต้องการความเหนียว และแข็งที่มากขึ้น ให้เติมโซเดียมไบคาร์บอเนตก่อนนำไปต้มอีกครั้งหรือใส่ในขณะที่น้ำเฉาก๊วยยังร้อน
– หากต้องการเพิ่มความแข็ง และเหนียวขึ้นมาอีกให้นำแป้งท้าวยายหม่อมหรือแป้งอ่อน เช่น แป้งมันสำปะหลังลงต้มผสม โดยนำน้ำต้มที่กรองเสร็จแล้วลงต้มผสมกับแป้งนาน 15 นาที พร้อมกับกวนอย่างต่อเนื่อง จนได้เมือกเหนียวดำ และเป็นมันเงา ก่อนเทใส่แม่พิมพ์หรือตั้งให้จับตัวเป็นก้อนในหม้อ
เมนู เฉาก๋วยน้ำเชื่อม ยอดฮิต ทำเองง่ายๆ ที่บ้าน

อย่างที่รู้กันดีว่า เฉาก๊วย ทำมาจากต้นเฉาก๊วย ซึ่งไม่ต้องทำเองก็ได้เพราะมีขายแบบพร้อมกินทั้งเฉาก๊วยโบราณหรือเฉาก๊วยทรงเครื่อง แต่สำหรับคนที่อยากกินเมนูเฉาก๊วยอื่น ๆ ก็คงต้องไปซื้อก้อนเฉาก๊วยมาทำเองแล้วล่ะ วันนี้เราขอนำเสนอวิธีทำเฉาก๊วยน้ำเชื่อม หวานเย็น ชุ่มฉ่ำ มาให้ทุกคนได้ลองทำกัน
เมนูเฉาก๊วยน้ำเชื่อม สูตรจาก คุณเนินน้ำ อาหารบ้าน ๆ ที่บ้านเนินน้ำ สูตรนี้ใช้ผงเฉาก๊วยต้มกับน้ำเปล่าแล้วเทใส่พิมพ์และหั่นตามชอบ หรือหากใครมีเฉาก๊วยที่ทำเองไว้แล้ว ก็ใช้แทนกันได้ค่ะ จากนั้นก็แค่ราดน้ำเชื่อมและใส่น้ำแข็ง เรียกได้ว่าเป็นเมนูดั้งเดิม แต่ยังคงความอร่อย ไม่แพ้ใคร ไปดูส่วนผสมกันเลย
ผงทำเฉาก๊วย 1 ซอง หรือเฉาก๊วยที่ทำเอง
น้ำเปล่า 1 ลิตร และ น้ำเปล่า (สำหรับทำน้ำเชื่อม)
น้ำตาลทองธรรมชาติ
น้ำแข็ง สำหรับเสิร์ฟ
ขั้นตอนการทำเฉาก๊วยน้ำเชื่อม
เทผงเฉาก๊วยใส่ลงอ่างผสม เติมน้ำ 250 มล. ลงไป คนผสมให้เข้ากันดี เตรียมไว้
ใส่น้ำที่เหลือ (750 มล.) ลงในหม้อ นำขึ้นตั้งไฟจนเดือด
พอน้ำเดือดแล้วปรับเป็นไฟอ่อนแล้วเทส่วนผสมเฉาก๊วยลงไปกวนผสมให้เข้ากันจนข้นและเนียน
ปิดไฟแล้วเทใส่พิมพ์แล้วพักไว้ให้เย็นและเฉาก๊วยเซตตัว
ทำน้ำเชื่อมโดยใส่น้ำตาลลงในหม้อ ตามด้วยน้ำ (อัตราส่วน หวานมาก-น้อยตามชอบ) นำขึ้นตั้งไฟเคี่ยวจนเดือด ปิดไฟ เตรียมไว้
ตักเฉาก๊วยใส่ถ้วย ตามด้วยน้ำเชื่อม เติมน้ำแข็ง หรือจะหั่นซอยเป็นเส้นเล็ก ๆ ใส่แก้ว หรือเอาเข้าช่องฟรีซจะได้น้ำเชื่อมเป็นวุ้น ๆ อร่อยชื่นใจ
Yorumlar