top of page

“หญ้าเนเปียร์” คืออะไร? ทำไมนิยมปลูก

  • Writer: sge thai
    sge thai
  • May 27, 2021
  • 2 min read

“หญ้าเนเปียร์” หรือหญ้าบาน่า เป็นหญ้าที่เรารู้จักกันดีว่าเป็นพืชที่ถูกนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ เมื่อสัตว์กินเข้าไปแล้วจะทำให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกายและไม่เป็นพิษต่อสัตว์อีกด้วย เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนิยมนำมาปลูกเพื่อใช้เป็นอาหารหยาบเลี้ยงโคในฟาร์มของตนเองนั่นเอง วันนี้ SGE จะพาไปดูเรื่องน่ารู้ของหญ้าเนเปียร์กัน ว่าคืออะไร? เป็นแบบไหน? มีประโยชน์อย่างไรบ้าง?

หญ้าเนเปียร์ (Napier Grass) คืออะไร? หญ้าเนเปียร์หรือ หญ้าบาน่า จัดเป็นหญ้าอาหารสัตว์ที่นิยมปลูกมาก เนื่องจาก ลำต้น และใบมีขนาดใหญ่ และมีคุณค่างทางอาหารสัตว์สูง รวมถึงสามารถเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตต่อไร่สูง สามารถเก็บเกี่ยวต้นได้ตลอดทั้งปี และเก็บเกี่ยวได้นาน 5-7 ปี ต่อการปลูก 1 ครั้ง

หญ้าเนเปียร์หรือหญ้าบาน่า เป็นหญ้าที่เติบโตได้ดีในเขตร้อน เป็นพืชที่มีอายุหลายปี ลักษณะลำต้นเป็นกอ ตั้งตรง และขยายพันธุ์ด้วยท่อนพันธุ์เหมือนต้นอ้อย หญ้าเนเปียร์นั้นมีหลายสายพันธุ์ โดยหญ้าเนเปียร์ธรรมดาและเนเปียร์ลูกผสม เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงถึง 4 เมตร อย่างไรก็ตามหญ้าเนเปียร์จะมีการแตกกอมากกว่า มีส่วนของใบเยอะกว่าและออกดอกก่อนพันธุ์อื่น


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

  • ราก และลำต้น หญ้าเนเปียร์เป็นหญ้าที่มีลำต้นขนาดใหญ่ ลำต้นแตกเป็นกอ หรือแตกต้นใหม่ได้ ลำต้นมีลักษณะแข็งแรง มีลำต้นสั้น ๆ บางส่วนอยู่ใต้ดิน ลำต้นเหนือดิน มีลักษณะทรงกลม และตั้งตรง ขนาดลำต้น 2-2.5 เซนติเมตร สูง 2-6 เมตร ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อปล้อง ประมาณ 15-20 ข้อ ส่วนรากมีเฉพาะระบบรากฝอยที่แตกออกจากเหง้าจำนวนมาก



  • ใบ ใบหญ้าเนเปียร์ออกเป็นใบเดี่ยว ประกอบด้วยกาบใบที่ห่อหุ้มลำต้น และมีขนเล็ก ๆ นุ่มมือปกคลุม โดยตรงรอยต่อระหว่างกาบใบกับแผ่นใบ มีลิ้นใบ ถัดมาเป็นแผ่นใบยาว แผ่นใบมีสีเขียวอ่อน ยาวประมาณ 70-100 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร แผ่นใบมีเส้นกลางใบขนาดใหญ่

  • ดอก ดอกหญ้าเนเปียร์ออกเป็นช่อ แบบ Spike ช่อดอกมีรูปทรงกระบอก สีเหลือง ยาวประมาณ 15-22 เซนติเมตร หนาประมาณ 2-3 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ด้านในดอกมีเกสรตัวเมีย และตัวผู้

  • ผล และเมล็ด หญ้าเนเปียร์พบติดผลได้น้อยมาก เปลือกผล และเมล็ดหุ้มติดกัน



ชนิดและพันธุ์หญ้าเนเปียร์ มีอะไรบ้าง?

  1. หญ้าเนเปียร์ยักษ์ ชื่อสามัญ : King grass ชื่อวิทยาศาสตร์ : P. purpureum King grass ลักษณะเด่นชัด : ลำต้นสูง แตกกอง่าย ใบและลำต้นมีขน ให้ผลผลิตต่อไร่สูง 10-60 ตัน/ไร่/ปี หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และน้ำ

  2. หญ้าเนเปียร์แคระ ชื่อสามัญ : Mott Dwarf Elephant Grass ชื่อวิทยาศาสตร์ : P. purpureum cv. Mott ลักษณะเด่นชัด : ลำต้นเตี้ย แตกกอง่าย เป็นพุ่ม ใบ และลำต้นมีขน

  3. หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 (พันธุ์ลูกผสม) ชื่อสามัญ : Pak Chong 1 ชื่อวิทยาศาสตร์ : P. purpureum x pennisetum americanum พันธุ์ดั้งเดิม : หญ้าเนเปียร์ยักษ์ และหญ้าไข่มุก หน่วยงานพัฒนาสายพันธุ์ : ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ โคราช กรมปศุสัตว์ ลักษณะเด่นชัด : ลำต้นสูงใหญ่ เหมือนเนเปียร์ยักษ์ ลำต้นอวบ และออกเขียวอ่อน ใบ และลำต้นไม่มีขน ลดการคันขณะเก็บเกี่ยว ให้ผลผลิตเหมือนกับหญ้าเนปียร์ยัก ผลผลิตต่อไร่สูง 10-60 ตัน/ไร่/ปี หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และน้ำ



ประโยชน์ของหญ้าเนเปียร์ 1. ใช้ปลูกเพื่อเป็นอาหารสัตว์ โดยเฉพาะโคเนื้อ โคนม และกระบือ ซึ่งเหมาะสมสำหรับการให้กินสด และการทำหญ้าหมัก2. ใช้เป็นชีวะมวล สำหรับเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า3. ใช้ปลูกเป็นพืชคลุมดิน4. ลำต้นใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษ5. ลำต้นนำมาสับ และอัดเป็นแท่ง สำหรับเป็นเชื้อเพลิงหุงทำอาหาร6. หญ้าเนเปียร์มีโปรตีนสูง และให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าหญ้าทุกสายพันธุ์ เหมาะสำหรับใช้เป็นอาหารสำหรับวัวขุน โคขุน และวัวชนทุกระยะ

คุณค่าทางโภชนาการหญ้าเนเปียร์ คุณค่าทางโภชนาการหญ้าเนเปียร์ อายุ 45 วัน : 100 กรัม ดังนี้

  • พลังงาน : 175.40 แคลอรี่

  • โปรตีน : 7.32 กรัม

  • ไขมัน : 0.99 กรัม

  • คาร์โบไฮเดรต : 34.32 กรัม

  • ความชื้น : 8.68 กรัม

  • เถ้า : 11.51 กรัม

  • กาก : 37.21 กรัม

  • แคลเซียม : 247.5 มิลลิกรัม

  • ฟอสฟอรัส : 203.9 มิลลิกรัม

  • เหล็ก : 12.4 มิลลิกรัม

** ปริมาณโปรตีนที่พบ นั่นหมายถึงว่า มีโปรตีนสูงถึง 7.32%


คุณสมบัติที่ดีของหญ้าเนเปียร์

  • ลำต้น และใบมีขนาดใหญ่ ลำต้นเติบโตได้เร็ว และให้ผลผลิตต่อไร่สูงมาก

  • มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เหมาะสำหรับเป็นอาหารหยาบเลี้ยงสัตว์

  • ลำต้นแตกกอใหม่ได้เร็ว ให้ผลผลิตได้ทั้งปี และเก็บผลผลิตได้ยาวถึง 5-7 ปี

  • ลำต้น และใบ มีปริมาณแป้ง และน้ำตาลสูง หากนำไปหมัก อาจไม่ต้องเติมกากน้ำตาล

  • ลำต้น และใบ แก่ช้า

  • ลำต้น และใบมีความอ่อนนุ่ม สัตว์เคี้ยวได้ง่าย

  • ไม่พบโรค และแมลงทำลาย

  • ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้เล็กน้อย

  • ทนต่อสภาพน้ำขังได้บ้าง

  • เติบโตได้ดีในทุกสภาพดี

  • ทนต่อดินเปรี้ยวได้ดี

  • ทนต่อดินเค็มได้ดี

  • เหมาะสำหรับการให้สัตว์กินสด และการทำหญ้าหมัก



ผลผลิตหญ้าเนเปียร์ เป็นอย่างไร?

  • หญ้าเนเปียร์ต้นสด เป็นการเก็บหญ้าเนเปียร์แบบต้นสด และไม่มีการสับหรือบด โดยตัดเป็นต้น และนำไปให้สัตว์กินโดยตรง ทั้งนี้ นิยมตัดต้นอ่อนในระยะเติบโตที่ยังไม่มีข้อมาก

  • หญ้าเนเปียร์บดสด เป็นการเก็บหญ้าเนเปียร์แบบนำมาบดสด ทั้งการบดในแปลงด้วยเครื่องจักร หรือ ตัดมือ แล้วขนมาบดด้วยเครื่องจักร ทำให้ได้หญ้าเนเปียร์แบบบดเป็นชิ้นเล็กๆ สัตว์เลี้ยงสามารถกินได้ง่าย และลดการสูญเสียได้เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับแบบให้ทั้งต้นสด ปัจจุบันมีการปลูกในลักษณะฟาร์มขนาดใหญ่เพื่อจำหน่ายมากขึ้น



  • หญ้าเนเปียร์หมัก เป็นผลผลิตหญ้าเนเปียร์ที่ได้จากการนำหญ้าเนเปียร์บดสดมาหมัก โดยมีส่วนผสมหลายแบบตามที่ต้องการ เช่น หมักกับยูเรีย หมักกับกากน้ำตาล หรือ ควบคู่ทั้งสองอย่าง เป็นต้น ทำให้หญ้าเนเปียร์มีความหยาบน้อยลง สัตว์เลี้ยงสามารถเคี้ยว และได้ย่อยง่าย รวมถึงนำสารอาหารไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับหญ้าสดที่ไม่ได้หมัก

  • หญ้าเนเปียร์บดแห้ง เป็นผลผลิตหญ้าเนเปียร์ที่ได้จากการนำหญ้าเนเปียร์บดสดมาตากแห้ง 2-3 วัน หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ทำให้ได้หญ้าเนเปียร์บดแห้ง สามารถเก็บไว้ได้นานหลายสัปดาห์ และมีกลิ่นหอม แต่หากต้องการเก็บไว้นานมากขึ้นในหลายเดือน ต้องผ่านกระบวนการตากที่ความชื้นไม่ควรเกินกว่า 15-20% แต่ทั้งนี้ การให้หญ้าเนเปียร์บดแห้งจะทำให้สัตว์ต้องการน้ำเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับการให้แบบบดสดหรือแบบหมัก ดังนั้น ต้องมั้นให้น้ำทุกๆ 3-6 ชั่วโมง ในช่วงการกินอาหาร ปัจจุบันมีการปลูกในลักษณะฟาร์มขนาดใหญ่เพื่อจำหน่ายมากขึ้น ซึ่งเกิดจากฟาร์ที่ขายแบบบดสด

สำหรับหลาย ๆ คนที่ต้องการเครื่องมือช่วยทุ่นแรง เรามีสินค้า เครื่องสับหญ้าอเนกประสงค์ หลากหลายรุ่นให้เลือกสรรค์ รับรองสินค้าดี มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน พร้อมบริการหลังการขายที่ประทับใจอย่างแน่นอน 🥰 ❞ สามารถรับชมและสั่งซื้อสินค้า ได้ตามนี้เลย 👉 เครื่องสับหญ้า รุ่น 4 ใบมีด 👉 เครื่องสับหญ้า รุ่น 6 ใบมีด 👉 เครื่องสับหญ้า รุ่น 2 in 1 👉 เครื่องย่อยกิ่งไม้ สามารถติดตาม บทความอื่นๆ ได้ที่นี่

 
 
 

Comments


  • Facebook
  • Twitter
  • Spotify
  • Apple Music

© 2023 by The Halftimers. Proudly created with Wix.com

The Halftimers Newsletter

Thanks for submitting!

bottom of page