top of page

GAP คือ มีมาตรฐานและข้อควรรู้อะไรบ้าง

  • Writer: sge thai
    sge thai
  • May 14, 2021
  • 1 min read

GAP คือ อะไรหลายคนยังคงสงสัย ต้องขอเกริ่นก่อนว่าประเทศไทยเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญ แต่ที่ผ่านมาผลผลิตสินค้าเกษตรและ อาหารยังไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคเท่าที่ควร เนื่องจากมีสารเคมีตกค้าง มีศัตรูพืชและจุลินทรีย์ปนเปื้อน ทำให้คุณภาพไม่เป็นไปตามมาตรฐาน

ดังนั้นควรส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย ตามระบบการจัดการคุณภาพหลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ซึ่งเป็นระบบที่ป้องกันหรือลดความเสี่ยงของอันตรายที่เกิดขึ้นในสินค้าเกษตรและอาหาร วันนี้ SGE จะพาทุกคนไปหาคำตอบกับข้อสงสัยว่า GAP คือ อะไรกัน ตามไปดูกันเลย..

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) คืออะไร การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) GAP คือ แนวทางในการทำการเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีและปลอดภัยตามมาตรฐานที่กำหนด โดยขบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค ปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมีไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมมีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุน การผลิตตามมาตรฐาน GAP คือ การก่อให้เกิดความยั่งยืนทางการเกษตร สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ มาตรฐาน GAP เป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมการผลิตสินค้าเกษตรอย่างครบวงจร ตั้งแต่ ปัจจัยการผลิต การผลิต การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อ และการขนส่งการผลิต สำหรับการผลิตสินค้าเกษตร 3 ประเภท ได้แก่

พืชผล เช่น ผัก ผลไม้ ชา กาแฟ ฝูาย ฯลฯปศุสัตว์เช่น วัวควาย แกะ หมู ไก่ฯลฯสัตว์น้ำ เช่น ปลาน้ำจืดประเภทลาตัวยาวมีเกล็ด ดังเช่น ปลาแซลมอน และปลาเทร้าท์ กุ้ง ปลาสังกะวาด ปลานิล ฯลฯ

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP พืช) การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช เป็นมาตรฐานการปฏิบัติที่ระบุรายละเอียดข้อกำหนดด้านการจัดการกระบวนการผลิตที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติที่ดีทางการผลิตพืชทุกชนิด โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สุขภาพ ความปลอดภัย และสวัสดิภาพของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ปลอดจากศัตรูพืชเหมาะสม กับการบริโภค และมีคุณภาพเป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค ยกตัวอย่างเช่น…

แหล่งน้ำแหล่งน้ำต้องสะอาด ไม่มีการปนเปื้อนของวัตถุหรือสิ่งที่เป็นอันตรายพื้นที่ปลูกต้องไม่มีวัตถุหรือสิ่งที่เป็นอันตรายที่จะทำให้เกิดการตกค้างหรือปนเปื้อนการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรใช้ตามคำแนะนำหรืออ้างอิงของกรมวิชาการเกษตร ที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องการจัดการกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตผลคุณภาพปฏิบัติและจัดการการผลิตตามแผนควบคุมการผลิตการผลิตให้ปลอดจากศัตรูพืชสำรวจ ปูองกัน และกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวเก็บเกี่ยวผลผลิตในระยะเวลาที่เหมาะสมตามแผนควบคุมการผลิตการเก็บรักษาและการขนย้ายผลิตผลภายในแปลงสถานที่เก็บรักษาต้องสะอาด อากาศถ่ายเทได้ดีสามารถปูองกันการปนเปื้อนของวัตถุ

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับ (GAP ฟาร์มปศุสัตว์) การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มปศุสัตว์ เป็นมาตรฐานรับ รองคุณภาพสินค้าเกษตรและ อาหารตามกระบวนการผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีถูกสุขลักษณะและปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยการกำกับดูแลให้มีความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อาหาร เริ่มตั้งแต่ระดับฟาร์มเลี้ยงสัตว์ อาหารสัตว์ โรงงานผลิตอาหารสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ จนถึงโรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์ เพื่อยกระดับการจัดการฟาร์ม คุ้มครองผู้บริโภคในทางการค้า

องค์ประกอบของฟาร์มเช่น ทำเลที่ตั้งของฟาร์ม สถานที่ตั้งควรอยู่ห่างไกลจาก แหล่งชุมชนเมือง ผู้เลี้ยงสัตว์รายอื่น แหล่งน้ำสาธารณะ และแหล่งปนเปื้อนของสิ่งอันตรายทางกายภาพ เคมีและชีวภาพ ลักษณะของฟาร์มควรมีเนื้อที่เหมาะสมกับขนาดของฟาร์ม ลักษณะของโรงเรือน ควรมีโรงเรือนต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรงการจัดการฟาร์มเช่น หาพันธุ์สัการจัดการโรงเรือนและอุปกรณ์ควรมีโรงเรือนพอเพียงตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน การจัดการฝูงควรคัดเลือกและจัดฝูงสัตว์ตามขนาด อายุและเพศและมีการคัดเลือกจัดตว์เพื่อทดแทน การจัดการอาหารสัตว์อาหารหยาบและอาหารข้น ต้องมีคุณภาพดีมีคุณค่าทางอาหาร และเพียงพอกับความต้องการการจัดการด้านสุขภาพสัตว์การป้องกันและควบคุมโรค ควรมีระบบปูองกันเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์ม โดยเฉพาะยานพาหนะและบุคคล การป้องกันและรักษาโรคอยู่ในความดูแลของสัตวแพทย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมการจัดการของเสีย สิ่งปฏิกูล มูลสัตว์ น้ำทิ้ง และขยะต่างๆ ต้องผ่านการจัดการที่เหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ หรือก่อความรำคาญต่อผู้อยู่อาศัยข้างเคียง และไม่ก่อให้เกิด มลภาวะ เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมการจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์ผู้เลี้ยงต้องตรวจสอบสัตว์อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าสัตว์มีสุขภาพดี ภายในโรงเรือนต้องสะอาดถูกสุขอนามัย จัดการพื้นที่ให้เหมาะสมกับจำนวนสัตว์ ดูแลสัตว์ให้ได้รับอาหารอย่างทั่วถึง

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับ (GAP ฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ) มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานและหลักเกณฑ์ สำหรับกระบวนการผลิต ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ประมง โดยจะต้องควบคุมมาตรฐานสินค้าเกษตร และอาหาร มีการจัดการสุขอนามัยของฟาร์มที่ดี เพื่อให้กระบวนการผลิตของผู้ประกอบการประมง เป็นไปตามมาตรฐาน และหลักเกณฑ์ที่กำหนด ส่งผลให้ผลิตผลมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

สถานที่บ่อเลี้ยงควรมีการขึ้นทะเบียนฟาร์มอย่างถูกต้อง ใกล้แหล่งน้ำสะอาด ห่างจากแหล่งกำเนิดมลพิษ และมีระบบการถ่ายเทน้ำที่ดี กระชังควรมีการขึ้นทะเบียนฟาร์มอย่างถูกต้อง การคมนาคมสะดวก มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน อยู่ในบริเวณที่ได้รับอนุญาต การจัดการทั่วไปบ่อเลี้ยงควรปฏิบัติตามคู่มือการเลี้ยงสัตว์น้ำ ของกรมประมงหรือวิธีการอื่นที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ มีแผนที่แสดงแหล่งที่ตั้งและแผนผังฟาร์มเลี้ยง การเลี้ยงต้องดำเนินการอย่างถูกสุขลักษณะปัจจัยการผลิตต้องใช้ปัจจัยการผลิต เช่น อาหาร อาหารเสริม วิตามิน ฯลฯ ที่ขึ้นทะเบียนกับทางราชการ (ในกรณีที่ก าหนดให้ปัจจัยการผลิตนั้นต้องขึ้นทะเบียน) และไม่หมดอายุ ปัจจัยการผลิตต้องไม่ปนเปื้อนยาและสารเคมีต้องห้ามในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ าตามประกาศทางราชการการจัดการดูและสุขภาพสัตว์น้ำบ่อเลี้ยงควรมีการเตรียมบ่อและอุปกรณ์อย่างถูกวิธีเพื่อปูองกันโรคที่จะเกิดกับสัตว์น้ำ เมื่อสัตว์น้ ามีอาการผิดปกติไม่ควรใช้ยาและสารเคมีทันที ควรพิจารณาด้านการจัดการ เช่น การเปลี่ยนถ่ายน้ำ เพิ่มอากาศ ก่อนใช้ยาและสารเคมี ทำความสะอาดกระชังอุปกรณ์เป็นระยะๆ ตลอดการเลี้ยง การเก็บเกี่ยวและการขนส่งวางแผนเก็บเกี่ยวผล ผลิตถูกต้องตามความต้องการของตลาด และมีหนังสือกำกับการจำหน่าย สัตว์น้ำและลูกพันธุ์สัตว์น้ำ ผลผลิตสัตว์น้ำที่เก็บเกี่ยวต้องไม่มียา หรือสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐาน

GAP ในประเทศไทย การนำหลักเกณฑ์ของ GAP มารประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ณ ปัจจุบัน มีดังนี้ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (Good Agriculture Practices : GAP) สำหรับประเทศไทย กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการตรวจรับรองระบบการจัดการคุณภาพ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช โดยได้กำหนดข้อกำหนด กฎเกณฑ์และวิธีการตรวจประเมินซึ่งเป็นไปตามหลักการที่สอดคล้องตามหลักการสากล เพื่อใช้เป็นมาตรฐานการผลิตพืชในระดับฟาร์มของประเทศ รวมทั้งได้จัดทำคู่มือการเพาะปลูกพืชตามหลัก GAP สำหรับพืชที่สำคัญของประเทศไทย จำนวน 169 ชนิด เช่น

ผลไม้ทุเรียน ลำไย กล้วยไข่ สับปะรด ส้มโอ มะม่วง และส้มเขียวหวานพืช ผักมะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง ผักคะน้า หอมหัวใหญ่ กะหล่ำปลี พริก ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ผักกาดขาวปลี ข้าวโพดฝักอ่อน หัวหอมปลี และหัวหอมแบ่งไม้ดอกกล้วยไม้ตัดดอก และปทุมมาพืชอื่น ๆกาแฟโรบัสต้า มันสำปะหลัง และยางพารา

เป็นอย่างไรบ้างคะทุกคน จะเห็นได้ว่า สภาวการณ์ผลิตพืชอาหารทางการเกษตร ของประเทศไทยในปัจจุบัน เริ่มตระหนักถึงความสำคัญในการผลิตพืชอาหารปลอดภัยสำหรับการบริโภคในประเทศและการส่งออก 👉 เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพของประชากรในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น และข้อจำกัด ทางด้านการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวกับการส่งผลิตผลทางการเกษตร ไปจำหน่ายยังประเทศต่างๆที่มีข้อบังคับว่าด้วยสินค้าทางการเกษตร ที่จะนำเข้าสู่ประเทศนั้นๆต้องผ่านมาตรฐานการรับรองที่เป็นสากล 🙏 วันนี้เราต้องขอตัวลาทุกคนไปก่อนนะคะ มาพบกันใหม่ในบทความหน้าสวัสดีค่ะ

ที่มา : sgethai

 
 
 

Comments


  • Facebook
  • Twitter
  • Spotify
  • Apple Music

© 2023 by The Halftimers. Proudly created with Wix.com

The Halftimers Newsletter

Thanks for submitting!

bottom of page